เปิดปม ! ทุ่งกุลาร้องไห้ ฤดูแล้งจะแห้งแล้งมาก ฤดูฝนน้ำท่วมทุกปี ทำการเกษตรไม่ได้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่

– อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

– อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

– อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

– อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ

– อำเภอค้อวัง และอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

 

สาเหตุที่ชื่อ ทุ่งกุลาร้องไห้ จากเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาแสนนาน และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง บนสถานที่แห่งนี้ เกิดจากชนเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศมอญ (ปัจจุบันประเทศมอญได้ถูกพม่ายึดไป)  กุลากลุ่มนี้ มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่าง ๆ

กุลาได้เดินทางค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบผู้คน ไม่พบหมู่บ้าน ไม่พบแหล่งน้ำ ไม่มีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแต่หญ้าขึ้นสูงเต็มไปหมด ส่วนดินก็เป็นดินทราย ยากลำบากแก่การเดินทาง เหมือนเดินทางอยู่กลางทะเลทราย จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้ขอความช่วยเหลือ มีแต่แดด ต้นหญ้า และดินปนทราย ถึงเวลาค่ำคืน ทั้งหิว ทั้งเหนื่อยสายตัวแทบขาด ร่างกายขาดน้ำทำท่าจะตายเอา ทั้งหมดจึงได้แต่นอนร้องไห้ จนมีชาวพื้นเมืองผ่านมาพบเข้า จึงช่วยเหลือหาบหามกันไปพยาบาลในหมู่บ้าน ผู้รอดตายจึงเล่าเหตุการณ์ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือว่า เอาแต่นอนร้องไห้เพียงอย่างเดียว ชาวบ้านจึงตั้งชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้”

ในอดีต ทุ่งกุลาร้องไห้ในหน้าแล้ง จะแห้งแล้งมาก เพราะเป็นดินปนทราย หน้าฝนน้ำจะท่วมทุ่งทุกปี ใต้ผืนดินลงไปเป็นดินเค็ม น้ำที่สูบขึ้นมาก็เป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถปลูกพืชผลอะไรได้

ภาพ :  ขอบคุณภาพจาก : ภาพสาเกตุนครชุด 2

Total Views: 497 ,