ปรับตัว วางแผน เพื่อรับมือปัญหาภัยแล้ง

การรับมือ ผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง คือ จัดหาแหล่งสำรอง และกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง รวมถึงวางแผนการเพาะปลูก ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ และปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย

เนื่องจาก ภัยแล้งเป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน และสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงแนะนำการปฏิบัติตน เพื่อรับมือ และลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ดังนี้

ประชาชน : – จัดหา และซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง

    – ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน

    – ใช้ภาชนะรองน้ำแทนการปล่อยน้ำจากก๊อกน้ำหรือสายยาง เพื่อลดการสิ้นเปลืองน้ำ ในปริมาณมาก

    – นำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อาทิ ทำความสะอาดบ้าน รดน้ำต้นไม้

    – ติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ

    – หมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ หากพบจุดน้ำรั่วซึม ให้รีบซ่อมแซม ไม่ทิ้งเศษอาหารหรือกระดาษทิชชูลงชักโครก เพราะทำให้สูญเสียน้ำในปริมาณมาก

                เกษตรกร :  – ติดตามสถานการณ์น้ำ และแผนการจัดสรรน้ำ จะได้วางแผนการเพาะปลูกได้สอดคล้องกับ

      ปริมาณน้ำ

                  – งดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ เพาะปลูก

      พืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย อาทิ พืชตระกูลถั่ว เมลอน แตงโม

   – ทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย อาทิ ใช้พลาสติกคลุมดิน นำเศษหญ้าคลุมโคนต้นไม้หรือวางระบบน้ำ

     หยดในพื้นที่เพาะปลูก

   – สร้างระบบกักเก็บน้ำ ในพื้นที่โดยขุดบ่อร่องน้ำหรือใช้ระบบน้ำบาดาลในการทำการเกษตร ป้องกัน

     ไม่ให้น้ำรั่วไหล โดยนำกระสอบทรายมาอุดรอยรั่วหรือใช้พลาสติกรองบ่อน้ำ

สมัครด่วน คลิก!!

Total Views: 66 ,