ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคเดียว ที่ต้องเผชิญปัญหาแล้งซ้ำซาก ยิ่งในพื้นที่ตอนกลาง-ตอนล่างของภาคนั้น ได้แก่ บริเวณจังหวัด มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
สาเหตุเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศของจังหวัดเหล่านี้ เป็นพื้นที่แอ่งกระทะ เรื่องของปัจจัยสภาพอากาศที่จะเหนี่ยวนำหอบน้ำฝน มาในฤดูฝนนั้น ก็จะมาไม่ถึง ทำให้ฝนไปตกรอบนอกของทางภาคอีสาน แถวๆ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พื้นที่ตอนกลาง และตอนล่างของภาค กลายเป็นพื่นที่แอ่งกระทะ ไม่ได้รับน้ำฝน จึงส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรง ที่มีน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรมาต่อเนื่อง
ซึ่งสภาวะฝนแล้งที่เกิดขึ้นนั้น ก็หมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อย หรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่ และฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ ด้วย แยกเป็นประเภท ดังนี้
ด้านการเกษตร : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
ด้านอุทกวิทยา : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำลำคลองลดลง
ด้านเศรษฐศาสตร์ : ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในภูมิภาค
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
มาร่วมสร้างความอุดมสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาภัยแล้งไปด้วยกัน
กับ กิจกรรม “อิ่มท้อง อุ่นใจ 360 องศา จากใจ ตราแม่ครัว ตอน ต้านภัยแล้ง”