การเตรียมตัวรับมือกับภัยแล้ง
ประชาชนทั่วไป
- เตรียมกักเก็บนํ้าสะอาดเพื่อการบริโภคให้เพียงพอ
- ขุดลอกคู คลอง และบ่อนํ้าบาดาล เพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บนํ้า
- วางแผนใช้นํ้าให้มีประสิทธิภาพ
- การใช้นํ้าเพื่อการเกษตร ควรใช้ในช่วงเช้า และเย็นเพื่อลดอัตราการระเหยนํ้า
- การใช้นํ้าจากฝักบัวเพื่อชำระร่างกาย จะประหยัดนํ้ามากกว่าการตักอาบ
- กำจัดวัสดุเชื้อเพลิงรอบที่พัก เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่า
- เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน เพื่อการขอนํ้าบริโภค และการดับไฟป่า
เกษตรกร
- ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
- ไม้ผล คลุมโคนต้นด้วยฟาง เปลือกถั่ว เศษใบไม้ ใบหญ้า ปลูกพืช ตระกูลถั่วรอบบริเวณโคนต้น โดยเริ่มคลุมในช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงต้นฤดูแล้ง พืชผัก คลุมด้วยฟางข้าว แกลบสด พลาสติก เป็นต้น
- ปลูกหญ้าแฝกรอบๆ ต้นไม้ผล หรือรอบแปลงปลูกผัก ตัดใบหญ้าแฝกในช่วงหน้าแล้ง ลดการคายนํ้า ลดการใช้นํ้าของหญ้าแฝก และนำใบมาใช้ใบคลุมโคนต้นไม้ และแปลงผัก
ระดับชุมชน
- จัดการวางแผนการใช้นํ้าที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝน ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บนํ้า เพื่อรวบรวมนํ้าฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน วางแผนเก็บกักนํ้าสำหรับส่วนรวม ควรจัดสร้างอ่างเก็บนํ้า หรือสระนํ้าขนาดใหญ่
- การสำรวจนํ้าใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหานํ้ามาใช้ที่ดีวิธีหนึ่ง การสำรวจ และขุดเจาะนํ้าใต้ดิน หรือนํ้าบาดาลมาใช้นอกจากเพื่อบริโภคอุปโภคแล้ว ยังใช้เพื่อการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมด้วย
- การนำนํ้ามาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำนํ้าที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพนํ้า เช่น นํ้าที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล ชุมชนใหญ่ ๆ ที่มีปัญหาขาดแคลน นํ้าหรือมีนํ้าเสียเป็นจำนวนมาก
- การแปรสภาพนํ้าทะเลเป็นนํ้าจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนนํ้าจืด ในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น ถึงแม้ว่าการผลิต นํ้าจืดจากนํ้าเค็มจะต้องลงทุนสูงกว่าการทำนํ้าจืดให้บริสุทธิ์ถึง 4 เท่า แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพียงบรรเทาความเดือดร้อนในการขาดแคลนนํ้าในบริเวณนั้น และมีแนวโน้มว่าต้องใช้ นํ้าเค็มเป็นวัตถุดิบในการผลิตนํ้าจืดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดแคลนแหล่งนํ้าจืด
- การขอทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนนํ้าจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดย ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูก
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน , กรมอุตุนิยมวิทยา
Total Views: 253 ,