พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร

      อากาศ เป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกพืชสวน พืชไร่ การทำประมง ก็ล้วนแล้วต้องพึ่งอากาศเป็นเกณฑ์ ฉะนั้น.. ภาพรวมอากาศในสัปดาห์นี้ ผมจึงขอแบ่งออกเป็น 2 ช่วง เพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจตรงกันครับ

ช่วงวันที่ 8 – 14 ก.ค. 62 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ระยะนี้ ทั่วไทยจะมีฝนน้อยมาก บางพื้นที่ คือ ฝนไม่ตกต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 7 วัน หรือนานเป็นระยะสัปดาห์นั่นเองครับ

ส่วนวันที่ 10 – 14 ก.ค. จะมีตัวการ มาช่วยทำให้ไทยมีฝนเพิ่มบ้างครับ ก็คือ ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ช่วงนี้..ไทยเรา จึงมีการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ฝนตกหนัก เทียบเท่าสัปดาห์ที่แล้ว ที่บ้านเราได้รับอิทธิพลขากพายุมูนนะครับ

เมื่อเข้าใจลักษณะอากาศได้ตรงกันแล้ว เรามาดูคำแนะนำ ในการปฏิบัติตัวของเกษตรกรในระยะนี้กันครับ

ภาคเหนือ : เนื่องจากฝนที่ตกไม่สม่ําเสมอในระยะนี้ เกษตรกร !! ควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจําพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะ กัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทําให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือน อย่าให้มีรอย รั่วซึม และแผงกําบังฝนสาดให้อยู่ ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝน จนหนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคอีสาน : พื้นที่ซึ่งมีน้ําขังจากฝนรอบที่แล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ํา หากมีความจําเป็นต้องเดินย่ําน้ํา ควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ส่วนในช่วงที่มีฝนตก อาจมีน้ําไหลเข้านา ชาวนาควรระวัง และป้องกัน หอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ํา โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ําไหลเข้านา แล้วจับหอยไปทําลายเพื่อป้องกันหอย เข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนาแล้วกัดกินต้นข้าว

ภาคกลาง : สําหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกร ควรขุดลอกคูคลอง และดูแลทางระบายน้ําในพื้นที่การเกษตรให้น้ํา สามารถไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ําขังในแปลงปลูกและ บริเวณโคนต้นพืชนาน ทําให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

สําหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทําให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการระบาด ของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ต่างๆ ซึ่งจะทําให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ําในบ่อเลี้ยง ควรจัดเตรียมวัสดุสําหรับ กั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สําหรับสูบน้ําเอาไว้ให้พร้อม ใช้งาน

ภาคตะวันออก : ระยะนี้เป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันออก เป็นด่านรับลมของมรสุม ทําให้มีฝนตกชุก และ ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้ดิน และอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ โดยดูแล พื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลด ความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคลงได้

สําหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรไม่ควร ปล่อยให้เปลือกผลไม้ ผลที่เน่าเสีย และผลที่ร่วงหล่น กองสุมอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของ โรคและศัตรูพืช โดยนําไปกําจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝัง ให้ลึก

ภาคใต้ : ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีปริมาณ และการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก สําหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกัน ทําให้ดิน และอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกร ควรระวัง และป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาว และโรคราสีชมพู ในยางพารา  

สําหรับฝนที่ตก และหยุดสลับกันในระยะนี้ เกษตรกรควรระวัง และป้องกันศัตรูพืชจําพวกหนอน ในพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทําให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนตกชุก วัชพืชต่างๆ จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรกําจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งน้ํา และธาตุอาหารจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรค และศัตรูพืช

Total Views: 131 ,